เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (สทร.) จัดงานสัมมนาวิชาการ ฟอรั่มเทคโนโลยีระบบรางของประเทศไทย ครั้งที่ 1 “เทคโนโลยีก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่ประวัติศาสตร์” เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแก่สังคมเกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบรางที่เกิดขึ้น หรือที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย และเป็นการถ่ายทอดการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบราง และการขนส่งทางราง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในสังคม และส่งเสริมอุตสาหกรรมในระบบขนส่งทางราง รวมถึงบูรณาการความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ มี ดร.สันติ เจริญพรพัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) และ รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก นายก วสท. เป็นประธาน

ดร.สันติ เปิดเผยว่า สทร. เป็นสถาบันหลักด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง บูรณาการความเชี่ยวชาญและทรัพยากรจากทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและสร้างอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ และหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญ คือ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบราง และร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สทร. จึงร่วมมือกับ วสท. ซึ่งเป็นหน่วยงานวิชาชีพและวิชาการด้านวิศวกรรมของประเทศ จัดงานดังกล่าวขึ้น ซึ่งในอนาคต สทร. จะผลักดันให้เกิดคลังข้อมูลเกี่ยวกับระบบรางในประเทศไทย เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมได้

ดร.สันติ กล่าวต่อว่า สทร. เชื่อมั่นว่าการจัดสัมมนาวิชาการฟอรั่มเทคโนโลยีระบบรางของประเทศไทยในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการจะช่วยเผยแพร่ และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่สังคม และนำไปสู่การวางมาตรฐานที่ดีทางวิชาชีพในการออกแบบ และก่อสร้างในพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ด้านรศ.ดร.วัชรินทร์ กล่าวว่า วสท. ในฐานะองค์กรด้านวิชาชีพวิศวกรรม ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน โดยเป็นการถ่ายทอดผลงานประสบการณ์วิชาชีพวิศวกรรม และเทคโนโลยี รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย เพื่อความก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในระดับสากล รวมถึงให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น และทิศทางด้านวิศวกรรมที่เหมาะสมและทันสมัย เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น หลายครั้งต้องดำเนินการในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งโบราณสถาน หรือพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งจำเป็นต้องมีการเตรียมการก่อสร้าง และเทคนิคการก่อสร้างที่ละเอียดอ่อนกว่าปกติ ในทางวิศวกรรมจึงต้องหาแนวทาง และเทคนิคต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างโดยกระทบต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ น้อยที่สุด จึงเป็นโอกาสดีที่งานนี้ จะได้ฟังจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

สำหรับภายในงานมีการบรรยายในหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ ประกอบด้วย 1.ความท้าทายของงานพัฒนาในพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ นำเสนอโดย คุณบวรเวท รุ่งรุจี นายกสมาคมอีโคโมสไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อกำหนด และประเด็นสำคัญของการพัฒนาโครงการก่อสร้างในพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ในการดำเนินงาน และแผนการป้องกัน ด้าน Engineering และ Non-engineeringคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

2.ประสบการณ์การดำเนินงานโครงการก่อสร้างในพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่จะนำเสนอเกี่ยวกับหลักการ กระบวนการ และวิธีการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างในพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประสบการณ์และตัวอย่างกรณีศึกษา (Case Study) การบริหารจัดการ การบริหารความเสี่ยงและการใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมของโครงการก่อสร้างฯ โดย คุณกิตติ เอกวัลลภ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ 3.ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการขุดเจาะอุโมงค์ของประเทศไทยกับการก่อสร้างในพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางวิศวกรร มและมาตรฐานสำหรับโครงการก่อสร้างในพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ Technical/Practical Guideline และ Recommendations ในการออกแบบและก่อสร้างผ่านพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โดย ศ.ดร.นพดล เพียรเวช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการขุดเจาะอุโมงค์.

By admin