ประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจที่น่าติดตาม ระหว่างรัฐบาลที่คาดหวังการลดดอกเบี้ยเพื่อพยุงเศรษฐกิจกับแบงก์ชาติที่ยังตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ความขัดแย้งด้านทิศทางดอกเบี้ยมีส่วนกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ

โดยในช่วงสัปดาห์การประชุม กนง. เงินบาทอ่อนค่าที่สุดในภูมิภาค และโดยเฉพาะหลังตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2566 ขยายตัวต่ำจากปีก่อนหน้า และหดตัวเทียบไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งย้ำถึงแรงกดดันในการลดดอกเบี้ยในวันที่ 10 เมษายนนี้ มากขึ้น

ดอกเบี้ยไม่ใช่ยารักษาทุกโรค

ผู้ว่าแบงก์ชาติ ยืนยัน ไม่ได้ดื้อรั้นที่จะยื้ออัตราดอกเบี้ย

อุตฯ รถยนต์ ชี้ หนี้เสีย-เข้มปล่อยกู้ ฉุดยอดขายรถในประเทศ คำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ

แต่ในมุมมองของ ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า ดอกเบี้ยไม่ใช่ยารักษาทุกโรค หากหวังพึ่งพาดอกเบี้ยนโยบาย การลดดอกเบี้ยเพียง 0.25 หรือ 0.50% ไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ

แต่ต้องลดลงถึง 1.25% จึงจะมากพอ ซึ่งเป็นการปรับลดในระดับวิกฤติการเงิน และเป็นระดับเดียวกับก่อนเกิดวิกฤติโควิด ผลข้างเคียงของการลดดอกเบี้ยเช่นนี้ จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า และอาจเป็นการประกาศสงครามค่าเงินกับเพื่อนบ้าน เพราะบาทที่อ่อนจะแย่งชิงความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง และอาจลามเป็นการอ่อนค่าของค่าเงินในภูมิภาคได้ในภายหลัง

ซึ่ง หนทางแก้เกมที่ดีที่สุด คือ ประสานนโยบายการเงินและการคลัง

และต่อให้ลดดอกเบี้ยลง ก็ทำได้เพียงพยุงเศรษฐกิจ ไม่ได้กระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเหนือ 4% และการลดดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25-0.50% ก็ไม่ช่วยลดรายจ่ายด้านดอกเบี้ยลงอย่างมีนัยะสำคัญ อาจพอลดความตึงเครียดได้บ้าง สร้างแรงจูงใจให้คนมาใช้จ่ายและลงทุนได้มากขึ้น แต่การส่งผ่านของการลดอัตราดอกเบี้ยต่อเศรษฐกิจจริงอาจใช้เวลาถึง 6 เดือน ต่างกับมาตรการทางการคลังที่อัดฉีดเงินเข้ากระเป๋าคนเพื่อนำไปใช้จ่ายได้ทันที และสามารถดูแลผู้เดือดร้อนได้ตรงกลุ่ม มากกว่านโยบายการเงินที่หว่านแหในวงกว้าง และการลดดอกเบี้ยก็มีผลข้างเคียงที่เปรียบเหมือนยา อาจทำให้เกิดอาการหนี้ครัวเรือนที่เพิ่ม สินทรัพย์ไทยขาดความน่าสนใจจนต่างชาติเทขาย ทำเงินบาทอ่อนค่า กระทบสินค้านำเข้าให้มีราคาสูงขึ้นได้

อย่าให้สงครามค่าเงินเป็นคำตอบ

สิ่งที่กังวล คือ ผู้กำหนดนโยบายจะเห็นว่าหนทางที่เร็วที่สุด (quick win) อาจจะเป็นการปล่อยให้เงินบาทอ่อนค่า ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

การลดดอกเบี้ยในระด้บมากพอจะกระตุ้นเศรษฐกิจ กำลังซื้อ การลงทุน และทำให้บาทอ่อนค่าแรงพอจะสร้างความสามารถการแข่งขัน แต่ต้องระวังผลข้างเคียง ต้นทุนนำเข้าเพิ่มสูง และการลดดอกเบี้ยของไทย จะเป็นการประกาศสงครามค่าเงินกับเพื่อนบ้านหรือไม่ และอาจลามเป็นการอ่อนค่าของค่าเงินในภูมิภาคได้ในภายหลัง แม้ไม่ได้รุนแรงเหมือนวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่หากเงินบาทวิ่งไปที่ระดับ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อาจมีคนบางกลุ่มได้รับผลกระทบ

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแอและปราศจากมาตรการทางการคลังในการสนับสนุนเช่นนี้ คงต้องอาศัยการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสร้างความเชื่อมั่น เสริมสภาพคล่อง และกดดันเงินบาทให้อ่อนค่า แต่ก็หวังว่า แบงก์ชาติยังมีหนทางอื่นในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย

Air Japan แจงเหตุยกเลิกเที่ยวบิน อากาศยานขัดข้อง คาดเปิดให้บริการ 23 ก.พ.นี้

สรุป 16 ทีมสุดท้าย ยูโรป้า ลีก ลิเวอร์พูล มีโอกาสจับเจอทีมใด

กางปฏิทิน เงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจำ จ่าย 2 รอบ ปี 2567

By admin